วางแผนจัดงานศพล่วงหน้า
ออกแบบจัดงานศพให้ตัวเอง
รับจัดงานศพโดยทีมงานมืออาชีพ
ไม่ต้องห่วงและกังวลใดๆ เมื่อท่านจากไป
เราจะดูแลท่านเปรียบเสมือนญาติของเรา
By...The Heaven 2025

เหตุผลที่หลายท่านเลือกให้
The Heaven 2025 จัดงานศพ
-
ไม่ทราบรายละเอียดขั้นตอนในการจัดงานศพ
-
ไม่มีญาติพี่น้องช่วยดำเนินการ
-
ต้องการควบคุมค่าใช้จ่าย ให้อยู่ในงบประมาณที่กำหนดไว้
- ต้องการรูปแบบงานให้เป็นไปตามความต้องการ
- ต้องการให้ช่วยเรื่องกฎหมาย เช่น พินัยกรรม และภาษีมรดก
-
ต้องการความสะดวก เนื่องจากเราช่วยจัดเตรียมทุกสิ่งให้ ตั้งแต่การเคลื่อนย้าย ดอกไม้ประดับหีบ ของชำร่วยงานฌาปนกิจ จนกระทั่งพิธีเก็บอัฐิและลอยอังคาร
ขั้นตอนต่างๆในการ จัดงานศพ
The Heaven 2025 มีความพร้อมที่จะให้บริการท่านด้วยความเต็มใจ
เพื่อให้ท่านส่งคนที่ท่านรักเป็นครั้งสุดท้ายอย่างดีที่สุด
ในบรรยากาศที่ท่านต้องการ และอยู่ในงบที่ท่านสามารถควบคุมได้
การแจ้งตาย
เมื่อมีผู้เสียชีวิต ลำดับแรกก่อนที่จะจัดพิธีงานศพไทยก็คือ “การแจ้งตาย” โดยญาติหรือผู้พบศพจะต้องแจ้งตายที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาเสียชีวิตหรือพบศพ เพื่อขอรับใบมรณบัตร และเมื่อได้รับใบมรณบัตรแล้ว ควรถ่ายสำเนาเอกสารแล้วให้เจ้าหน้าที่รับรองสำเนาเอกสารไว้ด้วยส่วนใบมรณบัตรฉบับจริงจะต้องนำไปแจ้งต่อสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ผู้เสียชีวิตมีภูมิลำเนาอยู่ พร้อมนำทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านไปด้วย เพื่อให้เจ้าหน้าที่จำหน่ายได้ว่าเสียชีวิตเมื่อใด โดยต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบภายในเวลา 15 วัน
การนำศพไปวัด
ลำดับถัดมาก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่พิธีงานศพไทยก็คือ “การนำศพไปวัด” เมื่อแจ้งตายกับสำนักทะเบียนท้องถิ่นแล้ว ให้ติดต่อวัดที่จะนำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศล ทั้งนี้ก่อนที่จะนำศพไปวัด ควรจัดเตรียมเสื้อผ้าของผู้เสียชีวิตให้เรียบร้อยก่อน แต่ถ้าผู้เสียชีวิตนั้นเป็นผู้ที่อยู่ในเกณฑ์สมควรได้รับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ให้แจ้งไปยังต้นสังกัดของผู้นั้นแล้วเดินเรื่องไปยังกองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง เพื่อขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพและเครื่องประกอบเกียรติศพต่อไป


พิธีรดน้ำศพ
พิธีรดน้ำศพ คือ พิธีกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแสดงความเคารพและอำลาต่อผู้ล่วงลับเป็นครั้งสุดท้าย โดยจะให้ญาติพี่น้องทำพิธีอาบน้ำศพก่อนเพื่อชำระล้างร่างกายผู้ล่วงลับให้สะอาด แต่งกายด้วยเสื้อผ้าให้สวยงามเรียบร้อย แล้วจะจัดเชิญญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ผู้ที่เคารพนับถือมาทำพิธีรดน้ำศพอีกครั้งหนึ่ง
ความสำคัญของการจัดพิธีรดน้ำศพ
การจัดพิธีรดน้ำศพอย่างมากในสังคมไทย เนื่องจากเป็นการแสดงความเคารพและความกตัญญูต่อผู้ล่วงลับเป็นครั้งสุดท้าย เปิดโอกาสให้ลูกหลานและผู้ใกล้ชิดได้แสดงความอาลัยอย่างเป็นทางการ รวมถึงเป็นโอกาสในการขอขมาและอโหสิกรรม หากเคยล่วงเกินหรือทำให้ผู้ล่วงลับไม่สบายใจ ช่วยให้ทั้งผู้ล่วงลับและผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ปลดปล่อยความรู้สึกที่ยังคงค้างคาใจ นอกจากนี้ พิธีรดน้ำศพยังเป็นการรวมญาติมิตรให้มาอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน เพื่อช่วยกันเตรียมงานและสร้างกำลังใจให้กันและกันอีกด้วย
ขั้นตอนการจัดพิธีรดน้ำศพ
ในระหว่างพิธีอาจมีการบรรเลงดนตรีไทยเบา ๆ เพื่อสร้างบรรยากาศที่สงบและเป็นการให้เกียรติผู้ล่วงลับ โดยเราสามารถจัดเตรียมพิธีรดน้ำศพตามขั้นตอนได้ ดังนี้
-
การเตรียมสถานที่ จัดเตรียมโต๊ะวางผู้ล่วงลับให้เรียบร้อย พร้อมตั้งโต๊ะสำหรับวางอุปกรณ์รดน้ำ
-
การเตรียมอุปกรณ์ จัดเตรียมขันน้ำ น้ำอบหรือน้ำหอม ผ้าขาวสำหรับรองมือศพ และดอกไม้จันทน์
-
การจัดลำดับผู้เข้าร่วมพิธี เริ่มจากพระสงฆ์ ผู้อาวุโส ญาติผู้ใหญ่ และลำดับลงมาตามอาวุโส
-
การรดน้ำศพ ผู้ร่วมพิธีจะค่อย ๆ รดน้ำลงบนมือศพ พร้อมกล่าวคำไว้อาลัยหรือขอขมาในใจ
พิธีสวดอภิธรรม
จัดเตรียมสิ่งของสำหรับถวายพระ
รวมไปถึงขนมและน้ำเบรคสำหรับผู้มาร่วมงาน
ในทุกวันจนเสร็จสิ้นงาน

ขั้นตอนการสวดพระอภิธรรม
ลำดับขั้นตอนการปฏิบัติในพิธีการสวดพระอภิธรรม เมื่อถึงกำหนดเวลาตามประเพณีนิยมหรือตามที่วัดกำหนด ให้พึงปฏิบัติดังนี้
-
นิมนต์พระสงฆ์ 4 รูป ขึ้นนั่งยังอาสนสงฆ์ ถวายน้ำปานะ (น้ำร้อน/น้ำเย็น)
-
เชิญเจ้าภาพหรือประธานหรือผู้แทนในพิธีสวดพระอภิธรรมประจำคืน โดยจุดธูป เทียนบูชาพระรัตนตรัย จุดธูป เทียนบูชาพระธรรม
และจุดเครื่องทองน้อย หน้าศพ ตามลำดับ
-
ศาสนพิธีกรอาราธนาศีล ทุกคนรับศีล
-
พระสงฆ์สวดพระอภิธรรม
-
พระสงฆ์สวดพระอภิธรรมจบ ครบ 4 จบ ศาสนพิธีกรนำตู้พระธรรมและเครื่องสักการะ ถอยออกมาทางท้ายอาสน์สงฆ์
-
นำเครื่องไทยธรรม เข้าไปตั้ง ณ เบื้องหน้าพระสงฆ์
-
เชิญเจ้าภาพ หรือประธาน หรือผู้แทน ถวายเครื่องไทยธรรม
-
เมื่อพระสงฆ์รับเครื่องไทยธรรมแล้ว ให้นำเครื่องไทยธรรมออกมาไว้ด้านท้ายอาสน์สงฆ์ เพื่อจะได้ถวายพระสงฆ์ เมื่อเสร็จพิธี
-
ศาสนพิธีกรลาดภูษาโยง (เป็นหน้าที่ของศาสนพิธีกร)
-
เชิญผ้าไตร หรือผ้าสบง ให้เจ้าภาพหรือประธานทอดบนภูษาโยง ในลักษณะขวางภูษาโยง
-
พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุล
-
พระสงฆ์อนุโมทนา
-
เจ้าภาพ หรือประธาน กรวดน้ำ – รับพร
-
เสร็จพิธีบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมประจำคืน
ขั้นตอน วันฌาปนกิจ
-
-
พิธีสงฆ์ : นิมนต์พระสงฆ์มาสวดมาติกาบังสุกุล และถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์
-
การเคลื่อนศพสู้เมรุ
-
ดำเนินการเคลื่อนศพไปที่เมรุ โดยเวียนซ้าย (อุตราวรรต หรือ อุตราวัฏ) รอบเมรุจำนวน 3 รอบ จากนั้นจึงนำศพขึ้นตั้งบนเมรุ โดยนำหีบศพวางไว้บนเชิงตะกอนเพื่อรอการประกอบพิธีฌาปนกิจศพต่อไป
-
การโปรยทาน
-
เมื่อนำศพขึ้นสู่เมรุเรียบร้อยแล้ว เจ้าภาพจะทำการโปรยทาน โดยมีความเชื่อว่าเพื่อเป็นการบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทางขอให้ดวงวิญญาณของผู้ตายไปสู้สุขติ และเป็นการซื้อทางเพื่อให้ดวงวิญญาณผู้ตาย
-
พิธีทอดผ้าบังสุกุล
-
พิธีกรจะเชิญแขกผู้มีเกียติชั้นผู้ใหญ่ที่เจ้าภาพได้เรียนเชิญไว้แล้วขึ้นทอดผ้าบังสุกุล (ผ้าไตร) โดยมีญาติหรือลูกหลานเป็นผู้ถือพานผ้าไตรเดินตามผู้ที่ขึ้นทอดผ้าไปบนเมรุ จากนั้น พิธีกรจะนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นมาชักผ้าบังสุกุล
-
กล่าวประวัติและแสดงความอาลัย
-
เป็นขั้นตอนการกล่าวประวัติผู้เสียชีวิต และคำไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิต จากนั้นจึงกล่าวเชิญแขกที่มางานทุกท่านยืนสงบนิ่งเพื่อไว้อาลัยให้แก่ผู้เสียชีวิต
-
วางดอกไม้จันทน์
-
พิธีกรจะเชิญพระสงฆ์ และแขกทั้งหมดขึ้นวางดอกไม้จันทน์ ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่จะขึ้นด้านข้างทั้งสองข้างของเมรุ และลงด้านหน้าทางเดียว
-
พิธีฌาปนกิจ
-
นำโลงศพเข้าไปยังบริเวณเตาเผา โดยในบางพื้นที่จะไม่นิยมใช้ไฟที่มีความร้อนสูงมากในการเผาศพ เพื่อยังคงรักษาสภาพอัฐิให้ไม่เสียหายจนเกินไป ต่างจากการเผาศพในต่างประเทศที่มักเผาด้วยไฟแรง ซึ่งเชื้อเพลิงที่ใช้ในกระบวนการเผาศพก็มีอยู่หลายแบบ ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละพื้นที่ ยกตัวอย่างเช่น ถ่านสำเร็จรูป ฟืน ถ่านผสมน้ำมัน น้ำมัน แก๊ส เป็นต้น
-

มีข้อคำนึงถึงในการเลือกของชำร่วยดังนี้
-
พิจารณาราคาที่เหมาะสม ซึ่งเจ้าภาพควรกำหนดงบประมาณในการสั่งของที่ระลึกงานศพ เพื่อให้มีขอบเขตในการเลือกง่ายขึ้น โดยไม่ต้องสนใจของชำร่วยราคาที่ต่ำกว่าหรือสูงกว่างบประมาณเลย
-
เลือกของชำร่วยตามฤดูกาล หากว่าในช่วงนั้นสภาพอากาศฝนตกฟ้าร้อง มีพายุ แนะนำเป็นร่มจะดีที่สุด เพราะหากว่าช่วงเวลาฝนตกแขกที่มาในงานได้รับของที่ระลึกงานศพก็สามารถใช้ได้ทันที หรือในช่วงนั้นสภาพอากาศร้อนมากๆ ควรแจกพัด พัดลมมือถือ ยาดม ยาหม่อง พิมเสนน้ำ เพื่อช่วยคลายร้อนได้
-
เลือกของชำร่วยที่ใช้ประโยชน์ได้จริง ในยุคนี้ถือได้ว่าของชำร่วย ในงานศพ นิยมเลือกของที่ใช้ประโยชน์ได้จริง ไม่เน้นสวย ไม่เน้นราคาสูงแต่เน้นประโยชน์ เพราะว่ามีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย เมื่อเจ้าภาพเลือกของที่ระลึกงานฌาปนกิจแต่แขกที่มาในงานไม่ได้ใช้ ทิ้งขว้างจนทำให้เกิดขยะ เป็นมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม และเปลืองเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ด้วย แต่จะดีกว่าไหมหากพิจารณาและเลือกของชำร่วยในงานฌาปนกิจที่ใช้ได้จริง และไม่ตกเทรน
-
เลือกตามความเชื่อและการศรัทธา หากว่าเจ้าภาพที่มีงบประมาณสูง สามารถเลือกของแจกงานศพ เป็นพระเครื่องซึ่งมีหลายรุ่นหลายแบบ ขึ้นอยู่กับความศรัทธาของทางเจ้าภาพและแขกที่มาในงาน จะนิยมแจกพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง แต่สำหรับเจ้าภาพที่มีงบประมาณน้อย ไม่แนะนำเพราะราคาค่อนข้างสูง
-
เลือกของชำร่วยงานฌาปนกิจเป็นประวัติและคุณงามความดีของผู้เสียชีวิต ซึ่งสอดแทรกหนังสือธรรมะให้เป็นธรรมทานแก่คนที่มาในงานแต่การสั่งพิมพ์หนังสือจะต้องมีต้นทุนค่อนข้างสูง เหมาะสำหรับเจ้าภาพที่มีงบประมาณเท่านั้น

ลอยอังคาร
สถานที่ในการลอยอังคารนั้น ขึ้นกับความต้องการของเจ้าภาพ
จะเลือกไปประกอบพิธีลอยอังคารที่ไหนก็ได้ ไม่มีข้อบังคับ
แต่อย่างไรก็ตาม จุดที่เหมาะสมในการลอยอังคาร ควรเป็นบริเวณที่ไม่ก่อให้เกิดความลำบากใจ หรือสร้างความรบกวนให้กับผู้อื่น
สถานที่ลอยอังคารที่ได้รับความนิยม เช่น ลอยอังคารที่กองเรือยุทธการ ฐานทัพเรือสัตหีบ, หลวงพ่อโสธร, วัดช่องลม, บริเวณปากอ่าว สมุทรปราการ, ปากเกร็ด นนทบุรี และ ลอยอังคารในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณหน้าวัดอรุณ เป็นอีกทางเลือกที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ซึ่งเหมาะสำหรับท่านที่ไม่มีเวลา หรือ ท่านที่ต้องการความเรียบง่าย และความสะดวก ในการประกอบพิธีลอยอังคาร